7 Mindsets เพื่อปรับวิธีคิดสู่กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design thinking

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือที่เรียกกันว่า Design Thinking เป็นกระบวนการเพื่อให้เข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาโดยรวมของบริบทต่างๆ ที่เรียกว่ากระบวนการเพราะทุกอย่างต้องทำมีขั้นตอนในแต่ละขึ้น ตั้งแต่การเข้าอกเข้าใจใส่ใจกับปัญหา การตั้งโจทย์ให้ชัด หาไอเดีย สร้างต้นแบบ สู่การทดสอบโดยมุ่งเน้นที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการสร้างนวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดได้สิ่งสำคัญเลยคือการมี Mindsets ทั้ง 7 ที่ดี

 

1. Focus on Human values ใส่ใจในคุณค่าของความเป็นมนุษย์

กระบวนการคิดเชิงออกแบบนั้นก็เพื่อมุ่งเน้นที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง เราจึงต้องโฟกัส และใส่ใจในคุณค่าของมนุษย์ ทั้งคุณค่าของตัวลูกค้า และคุณค่าของผู้ออกแบบ เพื่อให้เราเข้าอกเข้าใจ เข้าถึงปัญหาที่แท้จริงอย่างชัดเจนถึงความต้องการของลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ

2. Show, don’t tell ให้ลูกค้าได้ลองทำลองใช้ ไม่ใช่แค่การไปบอก 

Design thinking ก็เพื่อออกแบบสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด ดังนั้นเมื่อเราต้องการทดสอบ หรือมีไอเดีย ต้องแสดงให้เห็น หรือมีแบบจำลองให้กลุ่มตัวอย่างได้ลองใช้ เพื่อได้รับประสบการณ์จริง รวมถึงเราได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจริงด้วย ไม่ใช่เพียงแค่นำไปบอกเล่าเท่านั้น เพราะจะเกิดเพียงจินตนาการขาดด้านประสบการณ์จริงไป

3. Embrace Experimentation ให้ความสำคัญกับการทดลอง 

หนึ่งในขั้นตอนของ Design thinking คือการทดลอง ซึ่งเกิดจากการสร้างต้นแบบมาแล้วที่ได้จากการคิดฟุ้งหาไอเดีย ต้องมีการนำไปทดสอบว่า สิ่งที่คิดออกแบบไว้นั้นสามารถเป็นไปได้หรือไม่ การคิดเอาเองถึงผลลัพธ์ของต้นแบบที่สร้างขึ้นมานั้นอาจจะทำให้เราไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ส่งผลต่อการสร้างผลิตภัณฑ์จริงที่ไม่ตรงต่อความต้องการลูกค้าจริงๆ เราควรต้องให้ความสำคัญกับการทดลองเอามากๆ 

4. Be mindful of Process ทุกอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในกระบวนการ 

Design thinking คือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ คำว่ากระบวนการคือ มีขั้นตอนที่เราต้องเข้าใจว่าและทราบว่า ต้องทำอะไร และตอนนี้กำลังทำอยู่ในขั้นตอนไหน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน หรือได้ผลลัพธ์ตามกระบวนการแต่ละขั้น ไม่ควรที่จะต้องเร่งรีบลัดขั้นตอน เพราะจะทำให้กระบวนการนั้นขาดตกไปได้

5. Craft Clarity ตั้งโจทย์ให้ชัด 

เป้าหมายของ Design thinking คือการแก้ปัญหา ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเราต้องทราบให้แน่ชัดก่อนว่า ปัญหาที่เรากำลังแก้นั้นคืออะไร ตั้งโจทย์ให้จัด เมื่อเราทราบโจทย์ที่ชัดแล้ว กระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอนจะสามารถดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้วิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

6. Radical Collaboration ทำงานเป็นทีม

การแก้ปัญหาไม่ใช่การใช้คนเก่งคนเดียว แต่เกิดจากความร่วมมือจากสมาชิกภายในทีม โดยที่มาของสมาชิกเกิดจากการรวมที่ไม่ปกติ เช่น การเชิญคนต่างสาขาวิชาที่เราคุ้นเคยหรือทำงานกันปกติเข้ามาร่วมทีมด้วย เพื่อให้ได้มุมมองใหม่ๆ ไอเดียใหม่ๆ จากคนต่างสาขา

7. Bias Towad Action ลงมือทำ 

สิ่งต่างๆ ที่ออกแบบไว้จะเกิดขึ้นจริงไม่ได้เลยหากเราไม่ลงมือทำ เราต้องมีการลงมือทำในทุกขั้นตอนอย่างใส่ใจ เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่คิดออกแบบไว้นั้น ถูกต้องหรือไม่ 

 

เมื่อเราเข้าใจและปรับ Mindsets เกี่ยวกับ Design thinking แล้ว เราจะสามารถเข้าใจและออกแบบกระบวนการคิดเชิงออกแบบได้ดีขึ้น เกิดการใส่ใจกับปัญหา การตั้งโจทย์ให้ชัด หาไอเดีย สร้างต้นแบบ สู่การทดสอบโดยมุ่งเน้นที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง และนำไปใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

Vibration sensor by murata