Contents
เครื่องมือวัดความดัน หรือ Pressure Measurement คืออุปกรณ์เครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับในการวัดค่าความดันในกระบวนการ สามารถแสดงค่าความดันในหน่วยต่างๆ ได้ บางรุ่นยังสามารถส่งสัญญาณไปควบคุมค่าความดัน หรือส่งเป็นสัญญาณเตือน (Alarm) ขึ้นอยู่กับการใช้งานตามความเหมาะสม ซึ่งเครื่องมือวัดความดันนั้นมีใช้งานแทบทุกประเภทอุตสาหกรรม หรือแม้แต่งานอาคาร โรงแรม โรงพยาบาล ก็พบได้ใช้งานได้เช่นกัน เพื่อต้องการแสดงค่าการวัดความดัน หรือควบคุมค่าความดันให้อยู่ในค่าควบคุมที่ต้องการในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เพราะในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่องจากความดันมีผลต่อกระบวนการอย่างมากต่อสินค้าที่ผลิตออกมา รวมทั้งยังมีการใช้งานในด้านความปลอดภัย ป้องกันไม่ให้ความดันเกินค่าที่กระบวนการรับได้
เครื่องมือวัดความดันมีชนิดไหนบ้าง
เครื่องมือวัดความดันมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรม ประเภทการใช้งาน ไม่ว่าจะเพื่อการแสดงผลค่าความดันในกระบวนหรือ หรือต้องการนำค่าความดันที่วัดได้ไปควบคุม เครื่องมือวัดความดันที่มีจำหน่ายมีความสามารถเพียงพอต่อการใช้งานอย่างเหมาะสมได้แก่
เกจวัดแรงดัน หรือ เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)
Pressure Gauge เกจวัดแรงดันหรือเกจวัดความดัน เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายและสะดวกที่สุดในการใชัวัดความดัน (Pressure) ของไหลภายในกระบวนการหรือติดตั้งกับท่อที่เราต้องการวัด เช่น ความดันของน้ำ ความดันของลม ความดันของน้ำมันไฮดรอลิกส์ การวัดแบบนี้จะเป็นการวัดเพื่อแสดงค่าความดันที่วัดได้ แต่ในบางรุ่นอาจจะมีสวิตช์ให้เพื่อใช้ทำเป็นสัญญาณเตือนภัย (Alarm) หรือนำไปสั่งตัดต่อกระบวนการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักรได้ด้วย ซึ่งการวัดความดันด้วยเกจนั้นสามารถวัดได้ทั้ง Absolute Pressure , Gauge Pressure , Vacuum Pressure และ Differential Pressure
เซนเซอร์วัดความดัน (Pressure sensor)
เซนเซอร์วัดความดัน หรือ Pressure Sensor คืออุปกรณ์ที่สามารถวัด โดยจำเป็นที่จะต้องมีตัวแปลงสัญญาณหรือ Transmitter เพื่อทำการอ่านค่าจากแรงกดที่กระทำต่อตัวเซ็นเซอร์ออกมาเป็นค่าความดันที่เราเข้าใจ ส่วนใหญ่ Pressure Transmitter มักรวมเซ็นเซอร์อยู่ความดันอยู่ภายในอุปกรณ์อยู่แล้ว สามารถนำมาติดตั้งใช้งานในการวัดค่าความดัน และส่งสัญญาณค่าความดันไปควบคุมความดันได้ โดยมีหน่วยในการแสดงผลได้หลากหลายในตัวเดียว เช่น mbar, bar, kPa, kgf/cm2, psi, mmHg, inHg เป็นต้น และมีสัญญาณเอ๊าท์พุทแบบต่างๆให้เลือกใช้งาน เช่น NPN, PNP, 4-20 mA เป็นต้น เหมาะสำหรับลูกค้าทุกประเภทอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อาหารและยา, เคมี, ยานยนต์ ฯลฯ
สวิทช์ความดัน (Pressure Switch)
สวิทช์ความดัน (Pressure Switch) คือ อุปกรณ์เครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับควบคุมความดัน โดยวัดความดันและสามารถเปิดหรือปิดหน้าสัมผัสสวิตช์ทางไฟฟ้าได้ (On-Off) โดยสถานะการสลับของสวิตช์ทางไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปตามความดันที่วัดได้ เพื่อใช้ในการควบคุมหรือเพื่อใช้ในการป้องกันความดันเช่น ความดันสูงเกินไป หรือความดันต่ำจนเกินไป โดยพื้นฐานแล้วมักพบติดตั้งอยู่ภายในเครื่องจักร อุปกรณ์ในกระบวนการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานทั่วไปได้ มีหน้าที่ตรวจสอบความดัน และใช้สำหรับควบคุมจำกัดความดันให้อยู่ในค่าที่ต้องการ
ตัวอย่างการติดตั้งใช้งานของเครื่องมือวัดความดัน (Pressure Measurement)
ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่งานอาคารทั่วไป ที่มีเครื่องจักรที่ต้องการทราบค่าความดัน และต้องการควบคุมค่าความดันด้วย มักมีการติดตั้งเครื่องมือวัดความดัน (Pressure Measurement) อยู่ในจุดของกระบวนการที่ต้องการวัดค่าความดัน โดยหลักการใช้งานนั้นก็แตกต่างกันไป เช่น
- เพื่อต้องการทราบค่าเท่านั้น อาจจะติดตั้งเป็นเกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge)
- เพื่อส่งสัญญาณค่าการวัดความดัน อาจจะต้องติดตั้งเป็น เซ็นเซอร์วัดความดัน (Pressure Sensor) หรือ Pressure Transmitter
- เพื่อควบคุมค่าความดัน หรือต้องการแจ้งเตือนค่าความดันในกระบวนการ สามารถใช้เป็น สวิทช์ความดัน (Pressure Switch) โดยใช้หน้าสัมผัสสวิตช์ทางไฟฟ้าได้ (On-Off) เป็นตัวควบคุม
สามารถนำไปใช้งานในหลายหลายกระบวนการเช่น ความดันลมในถังลม ความดันไอน้ำของหม้อต้มไอน้ำ ความดันเตาเผาในด้านความดันสูญญากาศ แรงดันน้ำมันไฮดรอลิกส์ แรงดันลมที่อยู่ในช่องลมระบายอาการ เป็นต้น
สรุปเครื่องมือวัดความดัน (Pressure Measurement)
- เครื่องมือวัดความดัน (Pressure) คือ เครื่องมือวัดความดันที่ใช้เพื่อการแสดงผลหรือส่งสัญญาณไปควบคุมเพื่อรักษาความดันในกระบวนการ
- เครื่องมือวัดความดัน (Pressure Measurement) มี 3 ประเภทหลักๆ ได้แต่ เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) เซ็นเซอร์วัดความดัน (Pressure Sensor) สวิทช์ความดัน (Pressure Switch)
- เครื่องมือวัดความดัน (Pressure Measurement) สามารถใช้งานได้ทั้งการแสดงผลหรือควบคุมความดันได้แทบทุกอุตสาหกรรม หรือแม้แต่งานอาคาร โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น