Contents
ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อให้เครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง เซ็นเซอร์พื้นฐานที่มีการติดตั้งอยู่กับเครื่องจักร เพื่อให้เครื่องจักรสามารถที่จะกำหนดพื้นที่การเคลื่อนที่ได้นั้นคือ ลิมิตสวิทซ์ เพราะเป็นอุปกรณ์ระบุตำแหน่งที่มีหลักการทำงานไม่ซับซ้อน ตรวจจับเชิงกด โดยใช้การสัมผัส มากดก้านโยกของตัวลิมิตสวิทช์ ก็สามารถทราบตำแหน่งการสิ้นสุดการเคลื่อนที่ได้นั้นเอง สามารถนำสัญญาณไปต่อเพื่อควบคุมการทำงานเครื่องจักรได้ ไม่ว่าจะเป็นวงจรควบคุมการทำงานโดยใช้รีเลย์ หรือแม้แต่การนำสัญญาณไปต่อเข้ากับระบบควบคุมอย่าง PLC หรือ DCS ได้เช่นเดียวกัน
ลิมิตสวิทช์ ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกว่า Limit Switch เป็นเครื่องมือวัดระบุตำแหน่ง โดยใช้หลักการเชิงกลให้เครื่องจักรมาสัมผัสก้านโยกของตัวลิมิตสวิทช์ เพื่อให้หน้าสัมผัสทางไฟฟ้าภายในเปลี่ยนตำแหน่ง นำไปต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้านั้นเอง
1. หน้าสัมผัสของลิมิตสวิทช์
โครงสร้างของตัวลิมิตสวิทช์ มีลักษณะคล้าย สวิทช์ปุ่มกดทั่วไป ที่สามารถตัดต่อวงจรทางไฟฟ้า หรือที่เรียกภาษาทางไฟฟ้าว่า เปิดวงจร และ ปิดวงจร
โดยปุ่มสวิทช์กดนั้นสามารถเปิด/ปิด มีหลายรูปแบบการใช้งาน โดยจุดเชื่อมต่อที่มีหลักการทำงาน 2 ลักษณะ ได้แก่ ปกติเปิด (NO) ไม่จ่ายกระแสไฟ และปกติปิด (NC) จ่ายกระแสไฟ โดยสามารถเลือกต่อวงจรให้เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานได้ตามต้องการ
2. ลักษณะก้านปุ่มกด
โดยทั่วไปของลิมิตสวิทช์มีการลักษณะก้านปุ่มกดแตกต่างกัน หลักๆ มี 2 รูปแบบคือ ลิมิตสวิทช์แบบแนวตั้ง และ ลิมิตสวิทช์แบบแนวนอน โดยสามารถเลือกใช้งานติดตั้งตามความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับติดตั้งในเครื่องจักร และการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรด้วย
3. ค่าพิกัดแรงดันและพิกัดกระแสไฟฟ้าที่ลิมิตสวิทช์กำหนด
การเลือกใช้งาน จำเป็นที่จะต้องเลือกพิกัดแรงดันและพิกัดกระแสไฟฟ้าที่ระบุไว้ที่ตัวของลิมิตสวิทช์ ให้เหมาะสมกับโหลดในวงจร เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และป้องกันความเสียหาย รวมถึงอาจเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งานได้
4. คุณสมบัติการป้องกันจากสภาพแวดล้อม
ลิมิตสวิทช์ที่ถูกผลิตมาจำหน่ายนั้นมีหลากหลายรุ่น หลายยี่ห้อ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน หนึ่งในข้อพิจารณาคือสภาพแวดล้อมภายในโรงงาน ที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องจักร เช่น มีฝุ่น มีละอองน้ำ มีการไหลผ่านของน้ำมัน การเลือกอุปกรณ์ลิมิตสวิทช์จึงจำเป็นต้องพิจารณาการป้องกันดังกล่าว เพื่อให้ลิมิตสวิทช์สามารถใช้งานได้ยาวนาน เหมาะสมกับกระบวนการเครื่องจักรนั้นๆ
5. ความคงทนของการทำงาน
ลิมิตสวิทช์นั้นจะมีระบุความถี่ในการทำงาน ของการกด เปิด/ปิด ทั้งในส่วนของเชิงกลคือก้านปุ่มกด และในส่วนของหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า การเลือกอุปกรณ์ลิมิตสวิทช์ให้เหมาะสมกับความถี่ใช้งาน จะช่วยลดการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ลดการหยุดการผลิตของเครื่องจักรได้
ตัวอย่างเครื่องจักรที่นำลิมิตสวิทช์ไปต่อใช้งานเพื่อควบคุมการทำงาน
ลิมิตสวิตช์ (Limit Switch) เป็นอุปกรณ์เปิด/ปิดวงจรไฟฟ้าที่ใช้สำหรับจำกัดระยะทางและตัด/ต่อวงจรการทำงานของระบบอัตโนมัติต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปโครงสร้างของลิมิตสวิตช์จะมีลักษณะเป็นกล่องสวิตช์สี่เหลี่ยมขนาดกะทัดรัด ซึ่งประกอบด้วยปุ่มสวิตช์เปิด/ปิดหลากหลายรูปทรงให้เลือกใช้งาน และภายในจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่มีหลักการทำงาน 2 ลักษณะ ได้แก่ ปกติเปิด (NO) ไม่จ่ายกระแสไฟ และปกติปิด (NC) จ่ายกระแสไฟ โดยสามารถเลือกต่อวงจรให้เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานได้ตามต้องการ ดังนั้นลิมิตสวิตช์จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ทั้งเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม สายพานลำเลียง รอกโซ่ไฟฟ้า กระบอกสูบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป