DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ ที่ช่วยป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

ไฟฟ้าลัดวงจร มักเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดเพลิงไหม้ ที่ส่งผลสู่ความสูญเสียมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชีวิตและทรัพย์สิน บทความนี้มาทำความเข้าใจของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ที่ส่งผลต่อเนื่องจนเกิดเป็นเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างไร และทำความรู้จัก “DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ” ที่ช่วยป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับบ้านเรือน อาคาร หรือแม้แต่โรงงานคุณกันดีกว่า

สถิติย้อนหลังของไฟไหม้ มักเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

หากอ้างอิงตามข้อมูลสถิติของการเกิดไฟไหม้ ด้านล่างจะพบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ในระยะเวลา 6 ปี กรุงเทพฯ มีไฟไหม้กี่ครั้ง?
ปี 2560 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟ้าลัดวงจร 785 ครั้ง
ปี 2561 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 654 ครั้ง
ปี 2562 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 3,085 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 638 ครั้ง
ปี 2563 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,554 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 629 ครั้ง
ปี 2564 (ม.ค.-มี.ค.) ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 712 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 104 ครั้ง (ไม่พบข้อมูลสรุปของปี 64)
ปี 2565 (ม.ค.-พ.ค.) ไฟไหม้ทั้งหมด 131 ครั้ง (ตัวเลขนี้ยังไม่มีการจำแนกสาเหตุ)

ไฟฟ้าลัดวงจร หายนะที่เผาผลาญบ้านเรือน อาคาร โรงงาน คร่าชีวิตผู้อยู่อาศัยและพนักงานมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ถือเป็นอันตรายภายในอาคารอันดับหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว แต่ไฟฟ้าก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงเป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องจักรอย่างขาดไม่ได้ ทุกคนจึงต้องเข้าใจสาเหตุและป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรให้ดี รวมถึงการติดตั้ง DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ ที่ช่วยป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

หลักการของการเกิดเพลิงไหม้

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจองค์ประกอบของไฟกันก่อน ว่านั้นมี 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อน ในสภาวะที่เหมาะสมแล้วให้พลังงานออกมาในรูปของพลังงานความร้อนและพลังงานแสงสว่าง

1. เชื้อเพลิง คือ วัตถุใดๆ ก็ตามที่สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วในการเผาไหม้ เช่น ก๊าฟ ไม้ กระดาษ น้ำมัน พลาสติก เป็นต้น ซึ่งในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร นั้นเชื้อเพลิงนั้นก็คือฉนวนของสายไฟต่างๆ กรอบพลาสติกของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่อยู่ในตู้ควบคุมทางไฟฟ้านั้นเอง

2. ออกซิเจน อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา นั้นมีก๊าซออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 21% แต่การเผาไหม้แต่ละครั้งนั้นจะต้องการออกซิเจนประมาณ 16% เท่านั้น ดังนั้นจะเห็นว่าเชื้อเพลิงทุกชนิดที่อยู่ในอากาศรอบ ๆ ตัวเรานั้นจะถูกล้อมรอบด้วยออกซิเจน ซึ่งมีปริมาณเพียงพอสำหรับการเผาไหม้ยิ่งถ้าปริมาณออกซิเจนยิ่งมากเชื้อเพลิงก็จะยิ่งติดไฟได้ดีขึ้น และเชื้อเพลิงบางประเภทจะมีออกซิเจนในตัวเองอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเองไหม้ได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนที่อยู่โดยรอบเลย

3.ความร้อนหรือประกายไฟ คือพลังงานที่ทำให้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดเกิดความคลายไอออกมา ซึ่งไฟฟ้าลัดวงจรก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดความร้อนหรือประกายไฟได้

สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้มักเริ่มจากไฟฟ้าลัดวงจร

ไฟฟ้าลัดวงจร คือ การไหลของกระแสไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ที่อยู่นอกวงจรไฟฟ้าตามปกติ โดยแต่ละจุดอาจมีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน หรือนำไฟฟ้าในประจุตรงข้ามกัน หรือเป็นสื่อนำไฟฟ้าลงดิน ส่งผลให้เกิดการถ่ายเทพลังงานเป็นจำนวนมาก โดยปกติในวงจรไฟฟ้าจะมีอุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ ฟิวส์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ เครื่องตัดไฟรั่ว อุปกรณ์เหล่านี้จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าออกแต่หากอุปกรณ์ป้องกันดังกล่าวไม่ทำงาน ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่จำนวนมาก จะทำให้เกิดประกายไฟและความร้อน เมื่อความร้อนมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเกิดการหลอมละลาย กลายเป็นแหล่งเกิดเพลิงไหม้ได้นั่นเอง ซึ่งไฟฟ้าลัดวงจรมักเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้

  • ฉนวนไฟฟ้าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
  • การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า/เดินสายไฟฟ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
  • การใช้งานไม่ถูกต้อง
  • สินค้า/อุปกรณ์มีคุณภาพต่ำ
  • เกิดแรงดันเกินในสายไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ใช้ไฟฟ้าเกิดกำลัง

DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ ที่ช่วยป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

 

เราสามารถป้องกันเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรได้ ด้วย DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ โดยการนำไปติดตั้งในตู้ควบคุมไฟฟ้า มีหลักการทำงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน อุปกรณ์จะทำงานอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิในตู้สูงถึง 170 องศา และดับไฟทันที ทำให้ไฟดับตั้งแต่เริ่ม ไฟไม่ลามออกนอกตู้ ลดความเสียหายที่เกิดจากการลุกลามของไฟ ประสิทธิภาพการดับไฟสูง แต่ไม่ปะทุง่าย (เมื่อไม่เกิดจุดลุกไหม้) ไม่ทิ้งร่องรอยการดับไฟ ไม่ทำให้อุปกรณ์อื่นๆ เสียหาย และที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องรักษาหรือตรวจสอบสภาพการใช้งานบ่อย ๆ อายุการใช้งานนานถึง 180 เดือน
DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ ที่ติดตั้งง่ายไม่ซับซ้อน

การติดตั้ง DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ นั้นง่ายมาก เพียงทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวของตู้ควบคุมไฟฟ้าที่ต้องการติดตั้งให้สะอาด ลอกกาวสองหน้าของ DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ และทำการแปะติดที่พื้นผิว ภายในตู้ควบคุมไฟฟ้า ก็เป็นอันเรียบร้อย เพื่อช่วยป้องกันเหตุเพลิงไหม้จากการเกิไฟฟ้าลัดวงจร

คลิปตัวอย่างการใช้งาน https://www.youtube.com/watch?v=cL-raz1ZHdw
สนใจ DSPA อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ
สำหรับบทความนี้ต้องขอขอบคุณความรู้ดีๆจากทาง “Trueseal Pacific” หากเพื่อนๆสนใจสามารถติดต่อได้ทาง

โทร: 089-9995161 คุณอธิวัฒน์
083-0079888 คุณณัฐนิช
02-932 5661-3 Office

e-mail: nuttanit@truesealcorp.com atiwat@truesealcorp.com

เว็ปไซด์: www.truesealcorp.com

——————————————————————
อ้างอิง :

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ
https://urbancreature.co/bangkok-fire-statics-2022/

เผยสถิติไฟไหม้ย้อนหลัง 5 ปี พร้อมสาเหตุ
https://www.tqm.co.th/blog/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%875%E0%B8%9B%E0%B8%B5/?fbclid=IwAR3OTobH4NWGqVcVYuOCaJuzp72SkYdWrhDA2bHZKyBwRH-QNi4k09eyBGk&fs=e&s=cl

เพลิงไหม้ จากไฟฟ้าลัดวงจร และแนวทางการป้องกัน
https://www.electricityandindustry.com/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3/

ทฤษฏีการเกิดไฟ
https://www.pinthong-group.com/tab/detail.php?id=38

Vibration sensor by murata