ในการปฏิบัติงานหรือปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานหรือแม้แต่ช่างซ่อมบำรุงล้วนแล้วต้องมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานไฟฟ้าแทบทั้งสิ้น เพื่อความปลอดภัยแก่ตนเอง ผู้ปฏิบัติงาน และ บุคคลอื่น รวมทั้งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอันอาจเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า สิ่งสําคัญที่ ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าจะต้องคํานึงถึงคือ ความปลอดภัยเป็นอันดับแรก (Safety First) เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ไฟฟ้าทําอันตรายแก่ร่างกายมนุษย์ได้อย่างไร
ผู้ที่ได้รับอันตรายจากไฟฟ้า เกิดจากอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบังเอิญไป สัมผัสหรือเป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว (Leakage Current) ในขณะที่ร่างกาย ส่วนอื่นสัมผัสอยู่กับพื้นดินที่ชื้น ซึ่งทําให้กระแสไฟฟ้า (Current) สามารถไหลผ่านร่างกายลง สู่ดินครบวงจร ทําให้เกิดอันตราย ซึ่งเวลาเพียงเล็กน้อยก็สามารถ ทําให้ร่างกายพิการหรือเสียชีวิตได้ ผลของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านส่วนต่างๆ ของร่างกาย ปัจจัยที่สําคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อความรุนแรงของการถูกไฟฟ้าไฟดูดคือ เส้นทางที่ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายบริเวณอวัยวะที่สําคัญ เช่น บริเวณศีรษะ หัวใจ หรือทรวงอก อันตรายที่ได้รับจะมีมากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านส่วนอื่นของร่างกาย และถ้าร่างกายถูก กระแสไฟฟ้าเป็นบริเวณกว้างก็จะเป็นอันตรายกับชีวิตมากขึ้น
ไฟฟ้าทําอันตรายแก่ร่างกายได้เมื่อกระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านร่างกายลงดิน
เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอวัยวะที่สําคัญคือ หัวใจ ทําให้กล้ามเนื้อของหัวใจกระตุกและหดตัวอย่างรุนแรง และจังหวะการเต้นของหัวใจถี่รัวอาจทําให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ ดังนั้นไฟฟ้าสามารถทําอันตรายต่อร่างกายและชีวิตของมนุษย์ ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ ดังนี้
- เกิดจากกระแสไฟฟ้าใช้ร่างกายเป็นทางเดินผ่านลงดิน เนื่องจากระบบ จําหน่ายไฟฟ้าทั้งด้านแรงดันไฟฟ้าสูงและด้านแรงดันไฟฟ้าต่ำ โดยมีการต่อวงจรส่วนหนึ่ง ลงดินไว้ กระแสไฟฟ้าจึงพยายามไหลลงสู่ดิน เพื่อให้ครบวงจรกับดิน (Ground)
- เกิดจากร่างกายต่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าโดยไม่ผ่านลงดิน ตัวอย่าง เช่น การยืนอยู่บนพื้นที่เป็นฉนวนอย่างดี แล้วใช้มือทั้งสองข้างจับปลายสาย 2 ข้างของ สายไฟฟ้าเส้นเดียวกันซึ่งบังเอิญขาดอยู่ หรือใช้มือจับสายที่มีไฟทั้ง 2 เส้นพร้อมกัน ทําให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอวัยวะของร่างกายออกไปครบวงจร ซึ่งอาจทําให้ได้รับอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
- เกิดจากความร้อนและแสงสว่างที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจ เป็นอันตรายแก่ดวงตา เนื่องจากแสงสว่างที่มีความเข้มมากหรือเศษโลหะที่หลอมละลายมี ความร้อนสูงกระเด็นเข้าตา อาจทําให้ตาบอดได้ และเกิดบาดแผลแก่ร่างกายส่วนที่เข้าไป ใกล้หรือสัมผัสกับจุดที่มีกระแสไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit Current) ตัวอย่างเช่น การ ซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยไม่ตัดไฟฟ้า ในขณะที่ต่อปลายสาย 2 เส้น ที่เตรียมไว้ไป สัมผัสถึงกันจนเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
วิธีการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า
- ใช้ฉนวนป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้ามีฉนวนป้องกันการสัมผัสจากผู้ใช้งาน
- ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว RCD
- ติดตั้งสายดิน ให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นที่มีโครงสร้างโลหะ