Pressure Gauge เกจวัดแรงดัน มีกี่แบบ อะไรบ้าง

pressure gauge มีกี่แบบ

Pressure Gauge เกจวัดแรงดันหรือเกจวัดความดัน เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายและสะดวกที่สุดในการใชัวัดความดัน (Pressure) ของไหลภายในกระบวนการหรือติดตั้งกับท่อที่เราต้องการวัด เช่น ความดันของน้ำ ความดันของลม ความดันของน้ำมันไฮดรอลิกส์ การวัดแบบนี้จะเป็นการวัดเพื่อแสดงค่าความดันที่วัดได้ แต่ในบางรุ่นอาจจะมีสวิตช์ให้เพื่อใช้ทำเป็นสัญญาณเตือนภัย (Alarm) หรือนำไปสั่งตัดต่อกระบวนการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักรได้ด้วย

pressure guauge มี 3 แบบตามย่านการวัด

pressure gauge มีกี่แบบ หากแบ่งตามย่านการวัด

หากแบ่งตามประเภทแรงดันที่เราจะวัด หรือย่านการวัดจะแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบคือ

  1. Pressure Gauge ความดันบรรยากาศ เป็นย่านการวัดปกติที่เราใช้งานกันทั่วไป มีความดันที่มากกว่า 1 ATM ตัวอย่างย่านการวัดเช่น 0 – 1 bar , 0 – 10 bar เป็นต้น
  2. Vacuum Gauge ความดันสูญญากาศ เป็นย่านการวัดที่ใช้ในการสูญญากาศ คือมีความดันต่ำกว่า 0 bar เช่น -1 ถึง 0 bar เป็นต้น
  3. Compound Gauge สามารถอ่านได้ทั้งสองย่านความดัน ที่สามารถอ่านค่าความดันทั้งย่านความดันปกติ และความดันสูญญากาศ เช่น – 1 ถึง 5 bar , -1 ถึง 1 bar เป็นต้น

Pressure Gauge มีกี่แบบ หากแบ่งการรูปแบบการแสดงผล

Pressure Gauge ใช้อ่านค่าความดันในกระบวนการ ซึ่งสามารถอ่านค่าได้ทันทีจากแผงหน้าปัด ซึ่งหากเราจะแบ่งตามรูปแบบการแสดงผล มี 2 รูปแบบด้วยกันคือ

analog pressure gauge แบบเข็ม

เกจวัดแรงดันแบบเข็ม (Analog Pressure Gauge)

Pressure Gauge เกจวัดแรงดันที่ใช้สำหรับตรวจวัดความดันที่ใช้กันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม ที่ติดตั้งอยู่ในในกระบวนการผลิต โดยทั่วไปเกจวัดแรงดันจะมีโครงสร้างหลักอยู่ 2 ส่วน คือ

1. ส่วนหน้าปัดแสดงผล (Indicator) เป็นส่วนที่แสดงผลค่าความดันจากการวัดให้ทราบ โดยมีเข็มชี้ เคลื่อนตัวโดยการหมุน ชี้ไปตามเส้นแบ่งที่บ่งบอกค่าความดันบนแผงหน้าปัดของเกจวัดแรงดัน
2. ส่วนของอุปกรณ์ความดัน (Pressure Element) ทำหน้าที่เปลี่ยนความดันที่มากระทำกับตัวเกจวัดแรงดันให้กลายเป็นแรงเชิงกล ต่อเข้ากับกลไกให้เข็มชี้หมุนแสดงค่าความดัน ซึ่งอุปกรณ์ความดันที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิดคือ ท่อบูร์ดอง (Bourdon Tube) แผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) และ เบลโล (Bellow)

เกจวัดแรงดันแบบเติมน้ำมัน

เกจวัดแรงดันแบบธรรมดาไม่เติมน้ำมัน (Dry pressure gauge) ด้านในเกจวัดความดันจะเป็นอากาศธรรมดาที่ถูกดูดความชื้นออกมาแล้ว ส่วนเกจวัดความดันแบบน้ำมัน (Oil Pressure gauge) จะมีน้ำมันอยู่ข้างใน ส่วนใหญ่จะใช้ กลีเซอรีน (Glyc erin) หรือ ซิลิโคนออยล์ (Silicone oil) ซึ่งไม่เป็นอันตราย

เกจวัดแรงดันแบบเติมน้ำมัน (Oil Pressure gauge) จะมีราคาสูงกว่า เกจวัดความดันแบบธรรมดา (Dry pressure gauge) แต่ถ้าในระยะยาวต้นทุนของ เกจวัดความดันแบบน้ำมัน จะคุ้มค่ากว่าด้วยการใช้งานที่ยาวนาน ความต่าง ของเกจวัดความดันแบบน้ำมัน (Oil Pressure gauge) และเกจวัดความดันแบบธรรมดา (Dry pressure gauge)

เกจวัดแรงดันแบบธรรมดา (Dry pressure gauge) ไม่ซีลอากาศ ถ้าอยู่ในอุณหภูมิเย็นจัดจะเกิดปัญหาไอน้ำจับกันเป็นหยดน้ำ หรือเป็นฝ้าข้างในทำให้อ่านค่าไม่ได้ ส่วนเกจวัดความดันแบบน้ำมัน (Oil Pressure gauge) นั้นจะถูกออกแบบมาให้ซีลปิดน้ำมัน ให้อยู่ข้างในลดปัญหาไอน้ำหรือฝ้าได้
เกจวัดแรงดันแบบน้ำมัน(Oil Pressure gauge) นั้นมีน้ำมัน เพื่อช่วยกันกระตุก/กระเทือน (Liquid Filled Gauge) เหมาะสำหรับติดตั้งในที่ที่มีการสั่นสะเทือน น้ำมันกลีเซอรีน/ซิลิโคนออยล์ จะช่วยลดการสั่นของเข็มและช่วยลดแรงกระชาก ของแรงดัน เช่น ในกรณีที่มีการเปลี่ยนความดันฉับพลัน ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น

digital pressure gauge

เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล (Digital Pressure Gauge)

เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล (Digital Pressure Gauge) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดแรงดัน หรือความดันของไฟล เช่น น้ำ ลม ก๊าซ น้ำมัน น้ำมันไฮครอลิค โดย Digital pressure gauge จะแสดงค่าความดันที่หน้าจอแสดงผลเป็นแบบตัวเลข มีทั้งแบบที่เป็น LED, LCD ดังนั้นตัวเพลชเชอร์เกจ (pressure gauge) แบบนี้จำเป็นต้องใช้แหล่งพลังงานจาก แบตเตอรี่ หรือไฟฟ้าเลี้ยงวงจรจากภายนอก เพื่อให้มันสามารถทำงานได้ ข้อดีตรงที่หน้าจอสามารถที่จะระบุค่าแรงดันออกมาในหน่วยต่างๆได้ เพียงแค่กดปุ่มเปลี่ยนแปลงหน่วย และมีค่าความละเอียดในการวัดสูงกว่าแบบเข็ม รวมถึงโอกาสที่จะเกิด Reading Error หรือความผิดพลาดจากการอ่านค่าโดยใช้ตาของเรานั้นแทบจะไม่มี เนื่องจากไม่มีเรื่องของมุมในการอ่านค่ามาเกี่ยวข้อง

หน่วยที่ใช้ในการการอ่านค่าเกจวัดแรงดัน

หน่วยวัดความดันใน เกจวัดความดัน ที่นิยมใช้และเจอบ่อยๆจะมี

Bar บาร์ (ระบบ SI)
Kgf/cm2 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ระบบแมติก) คนไทยเรานิยมเรียกว่า กิโล เฉยๆ
PSI ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (ระบบอังกฤษ)
mmg มิลลิเมตรปรอท
atm ค่าความดันอากาศมาตราฐาน
pa ( pascal ระบบแมติก ) ส่วนใหญ่จะพบเป็น kpa หรือ mpa

1 Psi = 6.89476 kPa
1 kPa = 0.010197 ksc
100 kPa = 1 bar
1 Bar = 10 m.
1 inch = 25.4mm
1 pound = 1/2.204 kg
1 kg = 9.806 N
1 bar = 100000 N/m2
0.98 kg/cm2 = 1 Bar
1 bar = 100,000 Pa = 100 kPa = 0.1 MPa.
1 bar = 100 kPa (kilopascals) = 1,000,000 dynes per square centimeter (baryes) = 0.987 atm (atmospheres)
atmosphere, which now is defined to be 1.01325 bar exactly
1 dbar = 0.1 bar = 10 kPa = 100,000 dyn/cm2
1 cbar = 0.01 bar = 1 kPa
1 mbar = 0.001 bar = 0.1 kPa = 1 hPa (hectopascal) = 1,000 dyn/cm2

14.51 ปอนด์ หรือ Psi จะมีค่าเท่ากับ 1 บาร์ หรือ Bar ทั้ง2ค่าเป็นหน่วยวัดแรงดัน ในระบบสากล SI
ส่วนปอนด์ที่บอกน้ำหนักมวลนั้น เป็นหน่วยของอังกฤษที่มีค่า 2.2 ปอนด์เท่ากับ 1 กก.ในระบบ SI
ส่วน 1 บาร์ที่เท่ากับ 10 เมตร-น้ำ นั้นคือหน่วยบอกแรงดันน้ำ ของปั้มน้ำที่สามารถส่งแรงดันน้ำได้ที่ความสูง
ขนาดต่างๆกัน หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือระดับความสูงของถังเก็บน้ำบนที่สูงลงมาถึงพื้น 10 เมตรจะได้แรงดันน้ำ
เท่ากับ 1 Bar หรือ เท่ากับ 100 Kpa เรียกลักษณะการไหลตามแรงโน้มถ่วง แบบ กราวิตี้

ตารางหน่วยวัดความดันต่างๆใน Pressure gauge ที่เรานิยมใช้กัน

UNITS Pa bar kgf/cm2 atm mmHg PSI
1 Pa 1 10-5 1.0197×10−5 9.8692×10−6 7.5006×10−3 1.450377×10−4
1 bar 105 1 1.0197 0.98692 750.06 14.50377
1 kg/cm2 0.980665×105 0.980655 1 0.9678411 735.5592 14.22334
1 atm 1.01325×105 1.01325 1.0332 1 760 14.69595
1 mmHg 133.3224 1.333224×10−3 1.359551×10−3 1.315789×10−3 1 1.933678×10−2
1 PSI 6.8046×103 6.8948×10−2 7.03069×10−2 6.8046×10−2 51.71493 1

 

 Pressure Gauge ที่จัดจำหน่าย

 

Vibration sensor by murata