เกจวัดอุณหภูมิ คืออะไร? พร้อมหลักการทำงานและตัวอย่างการใช้งาน

temperature gauge เกจวัดอุณหภูมิ คืออะไร

เกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) คือ อะไร?

เกจวัดอุณหภูมิ temperature gauge

เกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) คือ อุปกรณ์เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่สามารถแสดงค่าการวัดได้ทันทีผ่านเข็มที่ชี้อยู่บนหน้าปัดของเกจวัดอุณหภูมิ บางครั้งอาจเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ ได้เช่นเดียวกัน ที่สามารถใช้งานง่ายและสะดวกที่สุดในการวัดอุณหภูมิเพื่อทราบค่า ติดตั้งอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิต เช่นการวัดอุณหภูมิของกระบวนการเผาไหม้ การวัดอุณหภูมิของกระบวนการผลิตน้ำร้อน การวัดอุณหภูมิของน้ำมันไฮดรอลิก เป็นต้น แต่ในบางรุ่นอาจจะมีสวิตช์เพิ่มเพื่อใช้ทำเป็นสัญญาณเตือนภัย (Alarm) หรือนำไปสั่งตัดต่อกระบวนการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักรได้ด้วย

 

เกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) มีกี่ชนิด

ชนิดของ เกจวัดอุณหภูมิ

เกจวัดอุณหภูมิ ที่สามารถแสดงค่าการวัดอุณหภูมิบนแผงหน้าปัดได้ทันทีนั้น ใช้หลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกล โดยหลักการวัดอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์ เกจวัดอุณหภูมิประเภทนี้มีหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของเทอร์โมมิเตอร์ ได้แก่

  • เทอร์โมมิเตอร์ เกจวัดอุณหภูมิแบบเปลี่ยนการขยายตัวเป็นความดัน (pressure thermometer) และ
  • เทอร์โมมิเตอร์ เกจวัดอุณหภูมิแบบแถบโลหะคู่ (bi-metal thermometer)

โดยเทอร์โมมิเตอร์ประเภทนี้มีช่วงของการวัดอุณหภูมิ (range) ค่อนข้างแคบขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้และชนิดของเทอร์โมมิเตอร์ เกจวัดอุณหภูมิ

 

หลักการทำงานของเกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) 

ส่วนประกอบของเกจวัดอุณหภูมินั้นจะมี 2 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่ส่วนที่เป็นแผงหน้าปัด ที่มีเข็มชี้เคลื่อนที่เพื่อแสดงค่าการวัดอุณหภูมิที่วัดได้จากกระบวนการ และส่วนเซ็นเซอร์ ที่สัมผัสกับอุณหภูมิในกระบวนการเพื่อส่งแรงกระทำเชิงกลมายังเข็มชี้อุณหภูมิ ที่อยู่ในแผงหน้าปัด บางรุ่นอาจจะมีส่วนเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้สะดวกในการใช้งานเช่น หน้าปัดสามารถปรับองศามุมมองการอ่านค่าอุณหภูมิได้ เกลียวที่ใช้ติดตั้ง ระยะความยาวของก้านสำหรับวัดอุณหภูมิที่ต่างกัน เป็นต้น

 

เกจวัดอุณหภูมิ เทียบกับ เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอล

temperature gauge analog vs digital

เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิหรือเครื่องมือวัดอุณหภูมิ ที่ถูกนำมาใช้งาน และได้รับความนิยมอีกชนิดหนึ่งคือ เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอล ที่สามารถแสดงค่าอุณหภูมิเป็นตัวเลขได้ทันที ลดความผิดพลาดจากการอ่านค่าของผู้ปฏิบัติหน้างาน ซึ่งภายในนั้นประกอบไปด้วยวงจรอิเล็คทรอนิกส์ และมักจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก หรือใช้ไฟจากแบตตารี่ ในบางพื้นที่ในบางกระบวนการของเครื่องจักร อาจจะไม่สะดวกที่จะลากสายไฟเข้าไปยังหน้างานได้ อาจจะต้องประเมินความเหมาะสมของแต่ละกระบวนการ

 

ตัวอย่างการติดตั้งใช้งานของเกจวัดอุณหภูมิ

การใช้งาน เกจวัดอุณหภูมิ temperature gauge

ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่งานอาคารทั่วไป ที่มีเครื่องจักรที่ต้องการทราบค่าอุณหภูมิ จากผู้ปฏิบัติงาน มักมีการติดตั้ง เกจวัดอุณหภูมิอยู่ในจุดที่ต้องการ เพราะสามารถติดตั้งง่าย หลักการทำงานไม่ซับซ้อน ทราบค่าอุณหภูมิได้ทันที ตัวอย่างกระบวนการที่นำเกจวัดอุณหภูมิไปติดตั้ง เช่น

  • ระบบความร้อน เช่น เตาอบ เตาเผา
  • ระบบวัดอุณหภูมิในน้ำ เช่น น้ำร้อน หรือ น้ำเย็น
  • ระบบน้ำมันไฮดรอลิกส์ เพื่อทราบอุณหภูมิน้ำมันที่ใช้งาน

 

สรุปเกจวัดอุณหภูมิ

  • เกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) คืออุปกรณ์เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบเข็มชี้ที่หน้าปัด อ่านค่าได้ทันที
  • เกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) มี 2 ชนิด ได้แก่ pressure thermometer และ bi-metal thermometer
  • เกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) ประกอบด้วย หน้าปัดแสดงค่าอุณหภูมิ และส่วนต้องก้านเซ็นเซอร์ ในการสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต้องการตรวจวัด
  • เกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) แบบเข็มชี้หน้าปัด ไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า หรือไฟจากแบตตารี่ เพื่อจ่ายให้วงจรทำงาน อย่างเช่นชนิด เกจวัดอุณหภูมิแบบตัวเลขดิจิตอล
  • เกจวัดอุณหภูมิ (Temperature Gauge) สามารถใช้งานได้แทบทุกอุตสาหกรรม และงานอาคาร
Vibration sensor by murata